6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ความอยากได้ลาภ [6828-6t]

หมวดข้อธรรม 8 ประการ พระสูตรที่ 1 - พระสูตรที่ 3 ในภูมิจาลวรรค หมวดว่าด้วยเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ข้อที่ #61_อิจฉาสูตร ว่าด้วยความอยากได้ลาภ ลาภในที่นี้ หมายถึง ปัจจัย 4 โดยกล่าวถึงบุคคล 8 จำพวกที่แม้ว่ากายจะอยู่วิเวกแต่ถ้าปฏิบัติไม่ต่อเนื่อง (คือ ไม่เจริญวิปัสสนาอย่างต่อเนื่อง) ความอยากในลาภย่อมปรากฎ โดยแบ่งจำแนกได้ดังนี้
บุคคล 4 จำพวกแรก คือ ขาดสติสัมปชัญญะ จะหลงไปตามผลที่ปรากฎ ทำให้เคลื่อนจากสัทธรรม กล่าวคือ เมื่อมีความอยากในลาภเกิดขึ้นบุคคลพวกนี้จะตั้งความเพียรในการแสวงหาหรือไม่แสวงหาลาภก็ตาม หากไม่ได้ลาภก็จะตีอกชกตัวเสียใจ และในทางตรงกันข้ามถ้าได้ลาภก็จะดีใจหลงไหลมัวเมาในลาภนั้นบุคคล 4 จำพวกหลัง คือ มีสติสัมปชัญญะ เมื่อมีความอยากในลาภแล้วจะตั้งความเพียรหรือไม่ตั้งความเพียรในการแสวงหาลาภนั้นไว้ก็ตาม ผลคือจะไม่หลงไหลดีใจหรือเสียใจไปตามผลที่ปรากฎ ทำให้ไม่เคลื่อนจากสัทธรรม*ตารางเปรียบเทียบ บุคคล 8 ประเภท ที่มีปรากฏอยู่ในโลก
ข้อที่ #62_อลังสูตร ว่าด้วยผู้สามารถทำประโยชน์ตนและผู้อื่น โดยการนำธรรม 6 ประการนี้มาแยกจำแนกลงในบุคคลผู้สามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่นได้ โดยจำแนกออกได้ 8 ประเภท แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ธรรม 6 ประการ ได้แก่
ใคร่ครวญธรรมได้เร็วทรงจำธรรมได้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมมีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
โดยนำธรรมข้างต้นมาแบ่งประเภทบุคคลได้ 3 กลุ่มดังนี้
เพียงพอสำหรับตนเองและผู้อื่น มี 2 ประเภท ได้แก่ บุคคลประกอบด้วยธรรมในข้อที่ 1-6 และข้อที่ 2-6ไม่เพียงพอสำหรับตนเองแต่เพียงพอสำหรับผู้อื่น มี 3 ประเภท ได้แก่ บุคคลประกอบด้วยธรรมในข้อที่1, 2, 5 และ 6 / ข้อที่ 2, 5 และ 6 / ข้อที่ 5 และ 6เพียงพอสำหรับตนเองแต่ไม่เพียงพอสำหรับผู้อื่น มี 3 ประเภท ได้แก่ บุคคลประกอบด้วยธรรมในข้อที่ 1-4 / ข้อที่ 2-4 / ข้อที่ 3-4*ตารางเปรียบเทียบ บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้ เป็นผู้ที่มีความสามารถปฏิบัติให้เกื้อกูลสำหรับตนเองและผู้อื่น
ข้อที่ #63_สังขิตตสูตร ว่าด้วยภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงธรรมโดยย่อ ปรารภภิกษุรูปหนึ่งที่ติดตามพระพุทธเจ้าในการแสดงธรรมได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม (ให้เกิดการบรรลุธรรม) โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ซึ่งเป็นองค์ของฌาน 1-4 และให้เห็นสติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) ซึ่งปรากฏอยู่ในฌาน 1-4 ได้ในทุกอิริยาบถ 4 (ยืน เดิน นั่ง นอน) ภิกษุรูปนั้นน้อมนำเอามาปฏิบัติได้ไม่นานก็ได้บรรลุอรหันต์
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ภูมิจาลวรรค
ที่สุดแห่งโลก [6827-6t]

หมวดธรรม 4 ประการ ในโรหิตัสสวรรค หมวดว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร
ข้อที่ #41_สมาธิภาวนาสูตร ว่าด้วยสมาธิภาวนา สมาธิภาวนาเป็นหนึ่งในองค์ของอริยมรรคมีองค์แปด คือสัมมาสมาธิที่เมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
1. อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ สามารถเข้าฌาน 1-4 ได้
2. ได้ญาณทัสสนะ (ทิพพจักขุญาณ) คือ การทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่าง กำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวันฉันใด ย่อมทำในใจว่าแม้ในกลางคืนก็ฉันนั้น
3. สติสัมปชัญญะ คือ มีสติเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของเวทนา สัญญา และวิตก
4. ความสิ้นอาสวะ คือ เห็นการเกิด-ดับในอุปทานขันธ์ห้าได้ด้วยปัญญา (ญาณ)
ข้อที่ #42_ปัญหพยากรณสูตร ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา เมื่อถูกถามควรพิจารณาถึงคำถามและเลือกวิธีที่จะตอบให้เหมาะสมกับคำถามนั้น พระสูตรนี้ได้บอกถึงวิธีที่จะใช้ในการตอบคำถามไว้ 4 วิธี คือ
1. ตอบโดยนัยเดียว
2. แยกตอบ
3. ตอบโดยย้อนถาม
4. งดตอบ
ข้อที่ #43_ปฐมโกธครุสูตร และ ข้อที่ #44_ทุติยโกธครุสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ 1-2 มีเนื้อหาข้อธรรมที่เหมือนกันกล่าวถึงคุณสมบัติของบุคคล 4 ประเภทที่ไม่มีความเคารพสัทธรรม คือ บุคคลผู้มักโกรธ ผู้มักลบหลู่ ผู้เห็นแก่ลาภ และสักการะ และในทางตรงกันข้ามบุคคลผู้มีความเคารพสัทธรรมจะเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่เห็นแก่ลาภและสักการะ บุคคลจำพวกหลังนี้ย่อมทำตนให้เจริญในธรรมได้
ข้อที่ #45_โรหิตัสสสูตร ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร เป็นเรื่องราวของเทวดาที่ชื่อว่า “โรหิตัสสะ” ได้เข้ามากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง “การทำที่สุดแห่งโลก ได้ด้วยการไปอย่างไร?” (ที่สุดแห่งโลก ในที่นี้หมายถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือนิพพานนั่นเอง) แล้วได้เล่าถึงครั้งที่ตนเคยเป็นฤาษีสามารถเหาะข้ามโลกได้ด้วยความว่องไวแห่งฤทธิ์ตลอดระยะเวลา 100 ปี ไม่กินไม่นอนจนกระทั่งตายก็ยังไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดของโลกได้ หลังจากนั้นพระผู้มีภาคเจ้าก็ได้ทรงตอบกลับว่า พระองค์ไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกได้ด้วยการไป แต่พระองค์ได้ทรงบัญญัติอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่มีอยู่ในกายนี้ เป็นข้อบัญญัติที่จะทำให้ถึงที่สุดแห่งโลกได้
ข้อที่ #46_ทุติยโรหิตัสสสูตร ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร สูตรที่ 2 พระพุทธเจ้าทรงนำเรื่องราวของโรหิตัสสเทพบุตรมาเล่าให้เหล่าภิกษุฟังโดยมีเนื้อหาแบบเดียวกันกับโรหิตัสสสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 13 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต โรหิตัสสวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บุคคลผู้เป็นนาบุญ [6826-6t]

จากท่านผู้ฟังที่ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์อานิสงส์ของศีลแปดแบบผู้ครองเรือนและแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่ตนได้รับจากการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยได้กล่าวถึงพระสูตรข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ที่ได้รับฟังในรายการทำให้นึกถึงศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อธรรมตรงกันข้ามกัน แล้วเปลี่ยนจากการดื่มสุราและเมรัยในข้อสุดท้ายมาเป็นสัมมาอาชีวะ เราเรียกข้อปฏิบัตินี้ว่า อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 ได้แก่ กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ซึ่งเป็นการรักษาศีลแปดแบบไม่ต้องประพฤติพรหมจรรย์และปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปด้วยศีลแปดแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ทำให้ได้รับอานิสงส์ที่เห็นได้ทางกายภาพ คือ มีสุขภาพที่ดีขึ้น
*การรักษาศีลแปดมีอานิสงส์มาก นอกจากความสุขอย่างสามัญแล้วยังเป็นไปเพื่อสมาธิและปัญญา เป็นทางแห่งการบรรลุธรรม
มาต่อกันที่สี่พระสูตรสุดท้ายในโคตมีวรรค ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ควรบูชา ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ข้อที่ #57_ปฐมอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1 ผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย (ทาน) ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา (ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ) ควรแก่การทำอัญชลี (กราบไหว้) เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกได้แก่
1. เป็นผู้มีศีล
2. เป็นพหูสูต (ฟังมาก จำได้ขึ้นใจ แทงตลอดได้ดีด้วยปัญญา)
3. มีมิตรดี (มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง)
4. เป็นสัมมาทิฏฐิ
5. เป็นผู้ได้ฌาน 4
6. ระลึกชาติก่อนได้
7. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ (เคลื่อน) กำลังเกิด
8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
ข้อที่ #58_ทุติยอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2 มีข้อธรรมที่เหมือนกันกับพระสูตรที่ 1 แตกต่างกันในข้อที่ 3, 4, 5 และ 6 ดังนี้
3. เป็นผู้ปรารภความเพียร
4. อยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด
5. อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้
6. อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ (กิเลส)
ข้อที่ #59_ปฐมปุคคลสูตร และ ข้อที่ #60_ ทุติยปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง อริยบุคคล 8 จำพวก (4 คู่ แบ่งเป็นขั้นมรรคและขั้นผล) เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย ฯลฯ ได้แก่
โสดาปัตติมรรค – โสดาปัตติผล (ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้)สกิทาคามิมรรค – สกิทาคามิผล (ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ได้ และทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 ประการที่เหลือให้เบาบางลง)อนาคามิมรรค – อนาคามิผล (ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 ประการได้แล้ว)อรหัตมรรค – อรหัตผล (ละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ)พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต โคตมีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา [6825-6t]

หมวดธรรม 4 ประการ มาในจักกวรรค หมวดว่าด้วยจักร
ข้อที่ #36_โทณสูตร ว่าด้วยโทณพราหมณ์ กล่าวถึงเรื่องราวของโทณพราหมณ์ที่ได้พบเห็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วได้ติดตามรอยพระบาทนั้นไปจนได้พบพระพุทธเจ้า และด้วยท่าทีอันสงบระงับของพระพุทธเจ้า ทำให้โทณพราหมณ์เกิดความรู้สึกเลื่อมใส จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ใช่หรือไม่ ?” พระองค์ทรงตอบว่า พระองค์ไม่ได้เป็นอะไรทั้งนั้น เพราะด้วยเหตุที่ว่าอาสวะ (กรรม) ที่จะทำให้ไปเกิดได้ความเป็นอัตภาพเหล่านั้นสิ้นแล้ว
ข้อที่ #37_อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม คือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนาที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ ได้แก่
สมบูรณ์ด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายรู้จักประมาณในการบริโภคประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ*จะเห็นได้ว่า 3 ข้อหลัง คือส่วนหนึ่งของศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ
ข้อที่ #38_ปฏิลีนสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น ธรรม 4 ประการนี้ ทำให้เป็นพุทธะได้เลย คือ
ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ หมายถึง สัจจะที่แต่ละคนยึดถือตามความเห็นของตนว่า “นี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า” กำจัดได้แล้วผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี คือ ละการใฝ่หากาม การแสวงหาภพ และ การแสวงหาพรหมจรรย์ได้ขาดแล้วผู้มีกายสังขารอันระงับได้ คือ เข้าฌาน 4 ได้ผู้หลีกเร้น คือ ละมานะ 9 ได้
ข้อที่ #39_อุชชยสูตร ว่าด้วยปัญหาของอุชชยพราหมณ์ และ ข้อที่ #40_อุทายิสูตร ว่าด้วยปัญหาของอุทายิพราหมณ์ มีเนื้อหาข้อธรรมเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การปรารภถึงบุคคลที่ต่างกัน เป็นเรื่องการบูชายัญ กล่าวถึงยัญที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ คือ นิจทาน (มีผู้รับ) และ อนุกูลยัญ (ทำบุญให้บรรพบุรุษ) ส่วนยัญที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ คือ ยัญที่ต้องมีตระเตรียมการฆ่าและเบียดเบียนสัตว์
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จักกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
แผนที่การครองเรือน [6824-6t]

ฆราวาส หรือ ผู้อยู่ครองเรือนที่ยังยินดีในการบริโภคกาม ย่อมปรารถนาสุขสามัญ คือ ความสุขที่เกิดจากทรัพย์สิน เงินทอง ยศ เกียรติ ไมตรี และจะมีธรรมเหล่าใดที่เมื่อผู้ครองเรือนปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันและในภายภาคหน้า ซึ่งใน ทีฆชาณุสูตร และ อุชชยสูตร ได้กล่าวถึง ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือ “ หัวใจเศรษฐี ” (อุ อา กะ สะ) และ สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า อธิบายแยกให้เห็นดังนี้
ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่
1) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่น ขยันหมั่นเพียร เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงาน
2) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม
3) กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี คบคนดี ไม่คบคนชั่ว เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา
4) สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์ (ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีเพื่อนดี) และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีเพื่อนชั่ว) แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายรับของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายรับ
สัมปรายิกัตถะ 4 ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ได้แก่
1) สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
2) สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
3) จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ
4) ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา (คือ เห็นทั้งความเกิดและความดับในสังขารทั้งปวง)
เป็นหลักธรรมที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรทั้ง 2 แต่ปรารภถึงบุคคลที่ต่างกัน โดยใน
ข้อที่ #54_ทีฆชาณุสูตร ว่าด้วยโกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุ เป็นการปรารภถึง ทีฆชาณุชาวโกฬิยะ
ข้อที่ #55_อุชชยสูตร ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์ เป็นการปรารภถึง อุชชยพราหมณ์
ข้อที่ #56_ภยสูตร ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม คำว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกามเพราะเหตุไร ? เพราะผู้ที่ยินดีด้วยกามราคะถูกตัณหาเกี่ยวพันไว้ ย่อมไม่พ้นจาก ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม การอยู่ในครรภ์ ทั้งที่มีในภพนี้ และที่มีในภพหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต โคตมีวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ [6823-6t]

หมวดข้อธรรม 4 ประการนี้มาในจักกวรรค หมวดว่าด้วยจักร เริ่มกันใน...
ข้อที่ #31_จักกสูตร ว่าด้วยจักร 4 ประการ (จักร คือ สมบัติ) คือ การทำวนไปในธรรม 4 ข้อนี้แล้ว จะเป็นเหตุให้ถึงความร่ำรวยความเป็นใหญ่ได้ นั่นคือการอยู่ในพื้นที่ดี การคบคนดี การตั้งตนในธรรม และเป็นผู้ที่ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว
ข้อที่ #32_สังคหสูตร ว่าด้วยสังคหวัตถุ คือ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวให้เป็นไปในเรื่องเดียวกัน เกื้อหนุนกัน เป็นกลุ่มก้อน แต่ไม่ใช่ยึดถือ คนที่มี 4 ข้อนี้ จะเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้คนเข้ามาคือ การให้ปิยวาจา ประพฤติประโยชน์ การวางตนเสมอกัน คือร่วมทุกข์ร่วมสุข
ข้อที่ #33_สีหสูตร ว่าด้วยพญาราชสีห์ เปรียบลีลาของราชสีห์กับการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ในเรื่องสักกายะ (อริยสัจ 4) การบันลือสีหนาทนี้ ทำให้เทวดาสะดุ้งสลดสังเวชใจ
ข้อที่ #34_อัคคัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ กล่าวถึงความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ย่อมให้วิบากที่เลิศ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม (สังขตธรรมคืออริยมรรค และอสังขตธรรมคือวิราคะ) พระสงฆ์
ข้อที่ #35_วัสสการสูตร ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์ จะเห็นถึงความแตกต่างคำจัดความของมหาบุรุษระหว่างวัสสการพราหมณ์และพระพุทธเจ้า ที่เมื่อได้ฟังแล้ว วัสสการพราหมณ์ต้องยอมจำนน
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จักกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมของเจ้าอาวาส [6822-6t]

หมวดข้อธรรม 5 ประการนี้ มาในวรรคที่ว่าด้วย “ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส” กล่าวถึงหลักคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาส ซึ่งหลักธรรมนี้ไม่ใช่เฉพาะเจาะจงกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้
ข้อที่ #231-234 อาวาสิกสูตร / ปิยสูตร / โสภณสูตร / พหูปการสูตร เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ “ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม” มาในหัวข้อที่ต่างกันแต่มีเนื้อหาข้อธรรมที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง และพอจะสรุปรวมได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ
ข้อที่ #235_อนุกัมปสูตร เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ “ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์” คือให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้ และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ข้อที่ #236-240 ปฐม-ทุติย-ตติยอวัณณารหสูตร / ปฐม-ทุติยมัจฉริยสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท [6821-6t]

จิตใจของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเต็มไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบวชเป็นภิกษุณี เธอได้แสดงความประสงค์ที่จะบวชต่อพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ดั่งในพระสูตรที่จะหยิบยกมากล่าวนี้
ข้อที่ #51_โคตมีสูตร ว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท ในพระสูตรนี้พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีความปรารถนาที่จะออกบวชโดยได้แสดงไว้ถึง 2 วาระด้วยกัน คือ วาระแรก ที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางทูลขอกับพระพุทธเจ้าด้วยตัวเองถึง 3 รอบแต่ก็โดนปฏิเสธตกหมดทั้ง 3 รอบ และในวาระต่อมาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี พระนางได้ปลงผม ห่มผ้ากาสายะ และออกเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าถึงที่นั่นเพื่อทูลขออุปสมบท และในวาระนี้เองด้วยอุบายของพระอานนท์ในการช่วยเข้าไปกราบทูลขอพระพุทธเจ้า พระนางจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแต่ต้องรับ “ครุธรรม 8 ประการ” ไปปฏิบัติ พระนางยินดีที่จะปฏิบัติตาม
คุรุธรรม 8 ประการ มีอะไรบ้าง
แม้บวชมานานนับร้อยปีก็ต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้บวชในวันนั้นต้องจำพรรษาอยู่ในวัดที่มีภิกษุต้องไปถามวันอุโบสถและรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือนต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายหลังจำพรรษาแล้ว (ออกตัวให้ติเตียนได้)ต้องประพฤติมานัต (ออกจากกรรม) ในสงฆ์สองฝ่ายเมื่อต้องอาบัติหนักต้องเป็นสิกขมานา 2 ปี ก่อนจึงขออุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายได้ต้องไม่บริภาษด่าว่าภิกษุไม่ว่ากรณีใด ๆจะว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้*และในตอนท้ายพระสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงถึงเหตุผลไว้ว่าทำไมถึงไม่ให้สตรีบวชและเหตุที่ต้องบัญญัติคุรุธรรม
ข้อที่ #52_โอวาทสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี ต่อเนื่องมาจากคุรุธรรมในข้อที่ว่า “ต้องรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน” พระสูตรนี้จึงว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ที่จะสอนภิกษุณีต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
เป็นผู้มีศีล สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิเป็นผู้ทรงจำ จำแนก ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีเป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่มีโทษ เป็นผู้สามารถชี้แจงภิกษุณีสงฆ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่รักเป็นที่ชอบใจของภิกษุณีโดยมากไม่เคยประพฤติล่วงครุธรรม เป็นผู้มีพรรษา 20 หรือเกินกว่าข้อที่ #53_สังขิตตสูตร ว่าด้วยลักษณะธรรมวินัยโดยย่อ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลขอธรรมะโดยย่อที่เมื่อฟังแล้วจะสามารถนำไปปฏิบัติได้ดี (บรรลุธรรมได้เลย) พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมไว้เป็นคู่หรือสองฝั่ง
ธรรมที่เป็นฝั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า ≠ นั่นไม่ใช่ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
1. ธรรมที่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด ≠ ธรรมที่เป็นไปเพื่อกำหนัด
2. ...เพื่อความพราก ≠ ...เพื่อความประกอบไว้
3. ...เพื่อการไม่สะสม ≠ ...เพื่อการสะสม
4. ...เพื่อความมักน้อย ≠ ...เพื่อความมักมาก
5. ...เพื่อความสันโดษ ≠ ...เพื่อความไม่สันโดษ
6. ...เพื่อความสงัด ≠ ...เพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
7. ...เพื่อปรารภความเพียร ≠ ...เพื่อความเกียจคร้าน
8. ...เพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ≠ ...เพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมห
คุณสมบัติของอริยวงศ์ [6820-6t]

ข้อที่ #26_กุหสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง ภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้ นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น
ข้อที่ #27_สันตุฏฐิสูตร ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย 4 กล่าวถึง ปัจจัยสี่ที่มีคุณสมบัติ “มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ” ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก
*สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้ แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อย หมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร
ข้อที่ #28_อริยวังสสูตร ว่าด้วยอริยวงศ์ กล่าวถึงการเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น
ข้อที่ #29_ธัมมปทสูตร ว่าด้วยธรรมบท ธรรมที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเอง เป็นเรื่องของทางใจ
ข้อที่ #30_ปริพพาชกสูตร ว่าด้วยปริพาชก เมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พุทธกิจในตำบลอุรุเวลา [6819-6t]

จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค หมวดว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา
ข้อที่ #21_ปฐมอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๑ เป็นการรำพึงของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ว่า ควรเคารพยำเกรงในสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหรือไม่ เพราะผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงสิ่งใดย่อมเป็นทุกข์ เมื่อใคร่ครวญแล้วไม่พบว่าสมณะใดมีความบริบูรณ์เท่า (ความบริบูรณ์ 4 อย่าง คือ ความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์, สมาธิขันธ์, ปัญญาขันธ์, วิมุตติขันธ์) จึงดำริที่จะเคารพในธรรมที่ตรัสรู้และเคารพในสงฆ์ที่มีคุณอันใหญ่ด้วย (หมู่พระอริยบุคคล) ท้าวสหมบดีพรหมที่คนยกย่องว่าเป็นผู้สร้างก็ยังเคารพธรรมนั้น
*ในข้อนี้จะเห็นว่า การเอาเป็นที่เคารพนั้นมีความต่างกับการยึดติดยึดถือ เพราะถ้ายึดถือ ทุกข์จะอยู่ตรงนั้น ทำให้เสียหลักได้
ข้อที่ #22_ทุติยอุรุเวลสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในตำบลอุรุเวลา สูตรที่ ๒ พราหมณ์ได้มารุกรานถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ทำไมพระองค์จึงไม่ลุกขึ้นไหว้ ต้อนรับ เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้เป็นผู้ใหญ่” เพราะด้วยความไม่รู้ความเป็นเถระของพราหมณ์ พระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ว่า อย่างไรจึงเรียกว่าเถระ เถระไม่ได้ดูจากอายุเท่านั้น ธรรมที่ทำให้ชื่อว่าเถระมาจาก การมีศีล เป็นพหูสูตร ได้ฌานทั้ง 4 และเป็นอรหันต์
*ตรงนี้ทำให้พุทธองค์เห็นว่า ธรรมนี้ยากที่สัตว์โลกจะรู้ตาม จึงขวนขวายน้อย ท้าวสหมบดีพรหมจึงมากล่าวอาราธนาให้แสดงธรรม
ข้อที่ #23_โลกสูตร ว่าด้วยโลก 4 นัยยะแห่งการเรียกว่า “ตถาคต” คือ 1. รอบรู้เรื่องโลก (ทุกข์) ในนัยยะของอริยสัจ 4 (กิจในอริยสัจ) 2. คำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพานล้วนลงกัน 3. กล่าวอย่างไรทำอย่างนั้น ทำอย่างไรกล่าวอย่างนั้น 4. เป็นผู้ยิ่งใหญ่ไม่มีใครข่มเหงได้ในโลก
ข้อที่ #24_กาฬการามสูตร ว่าด้วยพุทธกิจในกาฬการาม ความเป็นผู้คงที่ (ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม 8 ) ของพระพุทธเจ้านั้นปราณีตมาก ความไม่สำคัญ คือ ไม่สำคัญว่าได้... ว่าไม่ได้... ว่าต้องได้...ว่าเป็นผู้ได้... ไปใน 4 สถานะ (อายตนะภายนอก 6 ) เท่ากับไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามสิ่งที่รู้ คือ สักแต่ว่ารู้ จึงเหนือโลก
ข้อที่ #25_พรหมจริยสูตร ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์ จะเห็นถึงคำสอนนี้เป็นไปเพื่อสำรวมระวัง เพื่อละ เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อลาภสักการะ หรือลวงคน สามารถยืนยันได้ว่า สิ่งนี้มีในเรา สิ่งนี้ไม่มีในเราได้ เป็นความมั่นใจ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สตรีผู้เป็นบัณฑิต [6818-6t]

หญิงมาตุคาม (สตรี) ผู้อยู่ครองเรือน ที่ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ ย่อมหวังสุขได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
ในข้อที่ 46-48 เป็นการปรารภถึง “เหล่าเทวดามนาปกายิกา” (เทวดาชั้นนิมมานรดี) ซึ่งเนรมิตกายได้ตามปรารถนา และมีเสียงดนตรีอันไพเราะที่เกิดจากการกระทบกันของเครื่องประดับ ซึ่งในแต่ละพระสูตรกล่าวถึงสถานที่และบุคคลที่แตกต่างกันออกไป โดยได้ยกถึงธรรม 8 ประการที่เป็นเหตุให้มาตุคามได้ความเป็นเทวดามนาปกายิกา ได้แก่
ตื่นก่อนนอนทีหลัง ปฏิบัติรับใช้ให้เป็นที่พอใจ พูดคำไพเราะต่อสามีบูชา นับถือ เคารพ บุคคลที่สามีเคารพบูชาขยันไม่เกียจคร้าน จัดการดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อย (แม่เจ้าเรือน)รู้จักดูแลคนงานในบ้าน รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ไม่เล่นพนัน ไม่เป็นโขมย ไม่ล้างผลาญทรัพย์มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่ระลึกถึง)มีศีลห้าเป็นปกติมีใจปราศจากความตระหนี่ (จาคะ)ข้อที่ #46_อนุรุทธสูตร ว่าด้วยพระอนุรุทธะ ที่โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี พระอนุรุทธะออกจากหลีกเร้น ได้เข้าไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงธรรมที่ทำให้มาตุคามได้ไปเกิดเป็นเทวดามนาปกายิกา โดยได้ปรารภถึงเหล่าเทวดามนาปกายิกาที่ได้มาปรากฏตัวต่อพระอนุรุทธะ และได้แสดงความมีอำนาจในการเนรมิตกาย (วรรณะ) เสียง และความสุข ได้ตามความปรารถนา โดยพระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรม 8 ประการที่มาตุคามปฏิบัติจะได้เข้าร่วมความเป็นเทวดามนาปกายิกา
ข้อที่ #47_ทุติยวิสาขาสูตร ว่าด้วยนางวิสาขา สูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ตรัสแสดงธรรม 8 ประการนี้แก่ นางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี
ข้อที่ #48_นกุลมาตาสูตร ว่าด้วยนกุลมาตาคหปตานี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้ตรัสแสดงธรรม 8 ประการนี้แก่ นกุลมาตาคหปตานี ณ เภสกฬามิคทายวัน เขตกรุงสุงสุมารคิระ
ในข้อที่ #49_ปฐมอิธโลกิกสูตร และ #50_ทุติยอิธโลกิกสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อชัยชนะในโลกนี้ สูตรที่ ๑-๒ ได้กล่าวถึงธรรมที่ให้สุขปัจจุบันและในโลกหน้าของหญิงมาตุคาม โดยแยกแสดง 4 ประการแรกที่ให้ผลในปัจุบัน ได้แก่
จัดการงานดีสงเคราะห์คนข้างเคียง ปฏิบัติถูกใจสามีรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้และธรรม 4 ประการหลังที่มีผลในโลกหน้า คือ
ถึงพร้อมด้วยศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยจาคะถึงพร้อมด้วยปัญญาพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต อุโปสถวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อคติ - ความลำเอียง [6817-6t]

ข้อที่ #15_ปัญญัตติสูตร ว่าด้วยการบัญญัติสิ่งที่เลิศ เป็นการบัญญัติ 4 สิ่งที่มีความเป็นเลิศในส่วนของตน นั่นคือพระราหูผู้มีอัตภาพใหญ่สุดในบรรดาสัตว์ พระเจ้ามันธาตุเลิศที่สุดในผู้เสพกาม เพราะสามารถเสพกามที่เป็นทั้งของมนุษย์และสวรรค์ ทั้งยังไม่มีความอิ่มในกามนั้น มารบุคคลผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้ครองโลก เพราะควบคุมผู้อื่นไว้ด้วยกาม และพระพุทธเจ้าผู้เป็นเลิศในโลก เพราะอยู่เหนือกิเลสได้
ข้อที่ #16_โสขุมมสูตร ว่าด้วยโสขุมมญาณ กล่าวถึงความละเอียดประณีต ความเชี่ยวชาญในญาณแต่ละขั้น ไล่ไปตั้งแต่รูปภพที่มีกาม อรูปภพที่มีเวทนาและสัญญา และที่ยิ่งขึ้นไปอีกคือแม้แต่สัญญาเวทนาก็ดับไป ยังคงมีแต่สังขาร นั่นคือสมาธิขั้นสูงสุดนั่นเอง เราจะสามารถพัฒนาให้มีญาณที่ละเอียดลงไปได้ก็ด้วยการเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลายความดับไปของสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นสุขนั้น ถ้าเห็นโทษก็จะข้ามพ้นไปได้ ความละเอียดก็จะมากขึ้น
ข้อที่ #17-20 ปฐม / ทุติย / ตติยอคติสูตร และภัตตุทเทสกสูตร โดยในแต่ละพระสูตรนั้นว่าด้วยเรื่องของ “อคติ 4” คือ ความลำเอียง 4 ประการ กล่าวถึงบุคคลย่อมเข้าถึงอคติหรือไม่เข้าถึงอคติ อคติ 4 ประการ ได้แก่
1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ)
2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง)
4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ศีลอุโบสถ [6816-6t]

“อุโบสถ” หมายถึง กาลเป็นที่เข้าจำ (คือกาลเป็นที่เข้าไปอยู่โดยการถือศีล) และคำว่า “ศีลอุโบสถ” จึงหมายถึง การเข้าจำรักษาศีล 8 ของอุบาสกและอุบาสิกาในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำของทุกเดือน หรือที่เรียกกันว่า “รักษาอุโบสถศีล”
ใน อุโปสถวรรค หมวดว่าด้วยอุโบสถ โดยพระสูตรที่ 41-45 คือใน 5 พระสูตรนี้ กล่าวถึงหลักธรรม 8 ประการที่เหมือนกัน ก็คือศีล 8 โดยปรารภคุณของพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ย่อมละเว้นขาดจาก
1. การฆ่าสัตว์
2. การลักทรัพย์
3. เมถุนธรรม
4. การพูดเท็จ
5. เสพของมึนเมา
6. การฉัน (บริโภค) ตอนกลางคืน
7. การละเล่นและดูการละเล่น การประดับตกแต่งร่างกาย และเครื่องประทินผิว
8. การนอนที่นอนสูงใหญ่
แต่ละพระสูตรนั้นจะมีรายละเอียดในเรื่องของสถานที่ บุคคล และผลอานิสงส์ที่เหมือนและต่างกันออกไป
*ศีล 8 แตกต่างจากศีล 5 คือ ศีล 8 เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการหลีกออกจากกาม แต่ศีล 5 ยังเกี่ยวเนื่องด้วยกามอยู่
ข้อที่ #41_สังขิตตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ กล่าวถึง การรักษาศีล 8 ย่อมมีผลมีอานิสงส์มาก โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
ข้อที่ #42_วิตถตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร โดยได้เปรียบเทียบอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ไว้กับความสุขของมนุษย์ เช่น พระราชายังมีความสุขไม่ถึงเสี้ยวของผู้ที่รักษาศีล 8 โดยได้เปรียบเทียบสุขของมนุษย์ (เป็นของเล็กน้อย) ไว้กับสุขอันเป็นทิพย์ไว้ดังนี้
• 50 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นจาตุมหาราช (มีอายุ 500 ปีทิพย์)
• 100 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดาวดึงส์ (มีอายุ 1000 ปีทิพย์)
• 200 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นยามา (มีอายุ 2,000 ปีทิพย์)
• 400 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดุสิต (มีอายุ 4,000 ปีทิพย์)
• 800 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นนิมมานรดี (มีอายุ 8,000 ปีทิพย์)
• 1,600 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1วันของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (มีอายุ 16,000 ปีทิพย์)
ในพระคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึงอานิสงส์ของผู้ที่รักษาอุโบสถศีล (ศีล 8) ว่า “ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”
ข้อที่ #43_วิสาขาสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา กล่าวถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ซึ่งเหมือนกับตถตุโปสถสูตร แต่พระสูตรนี้ทรงตรัสกับ “นางวิสาขามิคารมาตา” ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี
ข้อที่ #44_วาเสฏฐสูตร ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ เหมือนกันกับ วิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสกชื่อว่า “วาเสฏฐะ” ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยกล่าวเสริมในตอนท้ายว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์
ข้อที่ #45_โพชฌาสูตร ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา เหมือนกันกับวิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสิกาชื่อว่า “โพชฌา”
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต อุโปสถวรรค
Hosted on Acast. See
บุคคลผู้มีศีล [6815-6t]

ข้อที่ #11_จรสูตร ว่าด้วยอิริยาบถเดิน กล่าวถึงผู้ที่ปล่อยให้อกุศลวิตก 3 คือ ความคิดตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน (ตื่นอยู่) และไม่พยายามละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป กล่าวได้ว่า “ผู้นั้นเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน” ส่วนผู้ใดพยายามละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ผู้นั้นเป็น “ผู้ปรารภความเพียร”
*ข้อสังเกต แม้มีอกุศลวิตกเกิดขึ้น แต่ไม่เพลิน ไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอกุศล พยายามละ บรรเทาให้เบาบาง ถึงแม้ว่าจะทำอกุศลนั้นให้หมดสิ้นไปเลยยังไม่ได้ แต่ขึ้นชื่อว่า “เป็นผู้มีสติ ปรารภความเพียรอยู่” แม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้
ข้อที่ #12_สีลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล กล่าวถึงบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะ สำรวมระวัง มีความเพียรในการรักษาศีลให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน ก็ตาม สามารถที่จะทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐานทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิก็สามารถละนิวรณ์ 5 ได้
*ประเด็น ศีลบริบูรณ์ย่อมยังสมาธิให้บริบูรณ์ขึ้นมาได้ คือ สามารถทำสมาธิได้ในทุกอิริยาบถ
ข้อที่ #13_ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน “สัมมัปปธาน” คือ ความกล้าความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามา
ข้อที่ #14_สังวรสูตร ว่าด้วยสังวรปธาน เป็นพระสูตรที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกับปธานสูตร เพราะกล่าวถึงวิธีในการละ ป้องกัน รักษา และทำให้เจริญ ไว้ดังนี้
สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ห้วงแห่งบุญกุศล [6814-6t]

ข้อที่ #38_ สัปปุริสสูตร ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ สัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเกิดมาเพี่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก กล่าวคือเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรและอำมาตย์ (เพื่อนสนิท) ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พระราชา เหล่าเทวดา และสมณพราหมณ์
ข้อที่ #39_อภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล "ห้วงบุญกุศล" ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล มีผัสสะใดมากระทบก็อารมณ์ดีได้เพราะจิตอยู่ในห้วงของบุญ เป็นลักษณะอารมณ์ของฌาน 2 (ปิติสุข) ห้วงบุญกุศล 8 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและเป็นผู้มีมหาทาน (คือ มีศีล 5)
ข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ผลแห่งการกระทำที่ไม่ดี ทุจริต 8 ประการนี้ ย่อมมีผลทำให้เกิดในนรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และส่งผลวิบากอย่างเบาซึ่งได้แก่ ผลจากการฆ่าสัตว์ - ทำให้เป็นผู้มีอายุน้อย, การลักทรัพย์ - ทำให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม - เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวร, การพูดเท็จ - ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง, การพูดส่อเสียด - แตกจากมิตร, การพูดหยาบคาย - ให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่าพอใจ, การพูดเพ้อเจ้อ - มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือ, การดื่มสุราและเมรัย -ให้เป็นผู้วิกลจริต
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บุคคลผู้ไปตามกระแส [6813-6t]

ข้อที่ #5_อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2) ผู้ทวนกระแส คือบวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม 3) ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี และ 4๗ ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คืออรหันต์
ข้อที่ #6_อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย เอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือการเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้
ข้อที่ #7_โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม พูดถึงพุทธบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้ด้วยคุณธรรม ความเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ข้อที่ #8_เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ
ข้อที่ #9_ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะปัจจัย 4 เป็นเหตุ
ข้อที่ #10_โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพ ได้แก่ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บุญกิริยาวัตถุ [6812-6t]

ข้อที่ #35_ทานูปปัตติสูตร ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน คือหวังการไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 หวังการไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นต่าง ๆ ทั้ง 6 ชั้น และหวังการไปเกิดเป็นพรหมในชั้นพรหมกายิกา แล้วด้วยเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จึงได้ตามที่ปรารถนาไว้ แต่ความปรารถนานั้นยังเป็นไปในทางต่ำ กล่าวคือมีความพอใจ มีความข้องอยู่ในภพนั้น จึงไม่อาจเห็นสิ่งที่จะเจริญกว่าหรือพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นไปได้
*ข้อสังเกต ผู้ที่หวังไปเกิดในชั้นพรหมกายิกา คือนอกจากจะเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ปราศจากราคะด้วย ในที่นี้ราคะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน (สมถะ) มิใช่ด้วยปัญญา
ข้อที่ #36_ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือการบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ศีล และภาวนา แล้วนำมาอธิบายได้ 8 นัยยะ โดยทั้ง 8 นัยยะนั้นไม่มีบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จได้ด้วยการภาวนาเลย โดยนัยยะแรกบุญที่เกิดจากทำทานและมีศีลนิดหน่อย ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคร้ายไม่มีอันจะกิน และนัยยะที่ 2 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลพอประมาณ ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคดี และนัยยะที่ 3-8 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลอันยิ่ง ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นและได้ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฐานะ 10 ประการในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ
**ข้อสังเกต การภาวนา คือการพัฒนาหรือการทำให้เจริญ เราสามารถทำทานของเราให้มีอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการให้ทานเพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความนุ่มนวลอ่อนเหมาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงปัญญาอันสูงสุด
ข้อที่ #37_สัปปุริสทานสูตร ว่าด้วยสัปปุริสทาน คือทานของสัตบุรุษ มีลักษณะ 8 ประการด้วยกัน
ให้ของสะอาดให้ของประณีตให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลาให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มากให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอเมื่อให้ ทำจิตผ่องใสให้แล้วเบิกบานใจพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
การตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ [6811-6t]

จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค หมวดธรรม 4 ประการ ว่าด้วยพุทธกิจในภัณฑคาม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านภัณฑคาม แคว้นวัชชี
อนุพุทธสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ ของพระพุทธเจ้าและอนุพุทธะ เพราะการไม่รู้ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุต จึงทำให้ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไป เกิดแล้วเกิดอีก เจอทุกข์แล้วเจอทุกข์อีก วนไป จะไม่เกิดก็ด้วยการรู้ธรรมทั้ง 4 ประการนี้
ปปติตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ที่ตกหล่นจากธรรมวินัย ก็คือผู้ที่ออกนอกอริยมรรคและวิมุต วิมุตในที่นี้หมายถึงผล นั่นเอง การดับทุกข์ได้เป็นข้อ ๆ เพราะความสมบรูณ์ในข้อนั้น ๆ แล้วค่อยพัฒนาไปตามลำดับ จะเจอแบบทดสอบที่ต่างกันไปในแต่ละข้อ
ปฐมขตสูตรและทุติยขตสูตร ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด หัวข้อมีความเหมือนกันแต่ต่างกันในรายละเอียด ในปฐมขตสูตร คือ การไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรอง ไม่เลื่อมใส หรือเลื่อมใสในบุคคลให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ ผู้รู้ติเตียน ส่วนในทุติยขตสูตรเหตุที่จะทำให้ตนถูกกำจัด คือ การปฏิบัติผิดในมารดา บิดา ตถาคต และสาวกของตถาคต
พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 13 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ว่าด้วยทาน 8 ประการ [6810-6t]

ข้อที่ 31 ปฐมทานสูตร เกี่ยวกับลักษณะของการให้ทาน 8 ประการ บางคนให้เมื่อประสบเข้า บางคนให้เพราะกลัวคำตำหนิหรือกลัวนรก บางคนให้เพราะเขาให้แล้วแก่เรา บางคนให้เพราะเขาน่าจะให้เรา บางคนให้เพราะการให้ทานเป็นการดี บางคนให้เพราะเราหุงหาอาหารกินเองได้แต่ชนเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ บางคนให้ด้วยคิดว่ากิตติศัพท์อันงามจะขจรไป บางคนให้ด้วยเป็นเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ผลของการให้เรียงจากน้อยมามากตามลำดับ
ข้อที่ 32 ทุติยทานสูตร พูดถึงทานที่เป็นกุศล มี 3 ลักษณะ คือ ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศลอันสัตบุรุษดำเนินการแล้ว ทำแล้วได้ไปเทวโลก ที่น่าสังเกตคือมีเพียงสามไม่ใช่แปด จึงน่าจะมาจากคาถาท้ายพระสูตรนั่นเอง
ข้อที่ 33 ทานวัตถุสูตร ว่าด้วยทานวัตถุ คือเหตุแห่งการให้ทาน คือบางคนให้เพระรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว เหล่านี้คืออคติ4 บางคนให้เพราะปู่พ่อเคยให้ บางคนให้เพราะตายแล้วได้ไปสวรรค์ บางคนให้เพราะเกิดความชื่นชมโสมนัส บางคนให้เพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต
ข้อที่ 34 เขตตสูตร ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี มีอุปมาอุปไมยที่เหมือนและต่างกันคู่กัน ลักษณะพื้นที่มีความสำคัญต่อผลผลิต เช่นเดียวกันการให้ทานในสมณะที่ดีหรือไม่ดีย่อมมีผลแตกต่างกัน เปรียบมาตามมิจฉามรรคและสัมมามรรค
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล [6809-6t]

ความเลื่อมใส (ศรัทธา )ที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญและงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว
#ข้อ241-#244 สูตร 1 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และ ใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1) แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2) ผู้รู้ย่อมติเตียน 3) กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4) หลงลืมสติตาย 5) ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก
#ข้อ245-#248 สูตร 2 จะมีไส้ในเหมือนกับสูตร 1 แต่มีความแตกต่างในตอนท้าย คือไส้ในของข้อที่ 4 เสื่อมจากสัทธรรม และข้อที่ 5 ตั้งอยู่ในอสัทธรรม
#ข้อ249_สีวถิกสูตร ว่าด้วยป่าช้า เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)
#ข้อ250_ปุคคลัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรม เป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ [6808-6t]

ข้อที่ #28_ทุติยพลสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรถึงกำลังแห่งญาณของภิกษุขีณาสพว่า “ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า..
ข้อที่ #29_อักขณสูตร กาลที่ไม่ใช่ขณะ (ไม่ใช่โอกาส) ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 8 ประการ คือ...
**แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรแก่การประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้นคือ ช่วงที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น มีพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์มีปัญญาเป็นสัมมาทิฎฐิและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีคำสอนอยู่(ยังมีสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี)
ข้อที่ #30_อนุรุทธมหาวิตักกสูตร สมัยหนึ่งพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในป่าจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเกิดความคิดอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายจากที่เภสกฬามิคทายวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน ทรงรับรองมหาปุริสวิตกทั้ง 7 ข้อ และทรงบอกเพิ่มมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 คือ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม (ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ตัณหา, มานะ, และทิฏฐิ) เมื่อตรึกในธรรมทั้ง 8 ประการนี้แล้ว มีฌานทั้ง 4 เป็นที่หวังได้ จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกในปัจจัย 4 คือ การใช้ปัจจัย 4 เป็นบาทฐานแห่งการบรรลุธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อั
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและผู้อื่น [6807-6t]

ความเดิมได้กล่าวถึงคุณธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคฤหบดี ชาวกรุงเวสาลี, อุคคตคฤหบดี ชาวหัตถีคาม และ ตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี ซึ่งอุบาสกทั้ง 3 ท่านเป็นอริยบุคคล และถึงความเป็นเอตทัคคะ (ผู้เลิศ) ในด้านต่าง ๆ
ข้อที่ #24_ทุติยหัตถกสูตร กล่าวถึงการสงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4 ประการ ของท่านหัตถกอุบาสก และคุณธรรมที่น่าอัศจรรย์ของท่านหัตถกอุบาสกอีก 8 ประการ คือ เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล มีหิริ-โอตตัปปะ เป็นพหูสูต มีจาคะ มีปัญญา และเป็นผู้มีความมักน้อย
ข้อที่ #25_มหานามสูตร และ #26_ชีวกสูตร ทั้ง 2 พระสูตรนี้ กล่าวถึงคำถามของท่านมหานามะและหมอชีวกโกมารภัจ ที่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเกี่ยวกับคุณธรรมของอุบาสก โดยมีเนื้อหาที่เหมือนกันดังนี้
บุคคลชื่อว่าอุบาสก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ (ที่พึ่ง ที่ระลึกถึง)อุบาสกชื่อว่าผู้มีศีล ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ผู้มีศีล 5อุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา (1) ศีล (2) จาคะ (3) เป็นผู้ประสงค์จะเห็นภิกษุ (4) ประสงค์จะฟังสัทธรรม (5) จำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ (6) เป็นผู้พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ฟังแล้ว (7) เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม (8) แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯอุบาสกชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร => ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ และ ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯข้อที่ #27_ปฐมพลสูตร ว่าด้วยกำลัง กล่าวถึงกำลังของบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
เด็กมีการร้องไห้เป็นกำลังมาตุคามมีความโกรธเป็นกำลังโจรมีอาวุธเป็นกำลังพระราชามีอิสริยยศเป็นกำลังคนพาลมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลังบัณฑิตมีการไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลังคนผู้เป็นพหูสูตมีการพิจารณาเป็นกำลังสมณพราหมณ์มีขันติ (อธิวาสนขันติ คือยังมีอารมณ์โกรธอยู่ แต่อดกลั้นไว้ได้ ไม่แสดงสิ่งที่เป็นอกุศลทางกาย วาจา ใจ ออกไป) เป็นกำลัง*กำลังในที่นี้หมายถึง สิ่งที่เมื่อเราใช้มันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเรา **ประเด็นคือ เราจะพัฒนาเอาสิ่งไหนมาเป็นกำลังของเรา เป็นกำลังที่จะนำพาไปสู่ความเป็นอริยะได้
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต คหปติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข [6806-6t]

“สมาธิ” คือเครื่องอยู่ที่จะทำให้เกิด “ความผาสุก” เป็นความสุขอีกประเภทที่เหนือกว่าสุขเวทนาและทุกขเวทนา
ผาสุวิหารสูตร #ข้อ 94 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ให้เกิดความผาสุก คือ สมาธิในขั้นที่ 1-4 (รูปฌาน) เป็นความพ้นจากกิเลสที่อาจจะยังกลับกำเริบได้ อุปไมยเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าประกอบด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ คือไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส เป็นความสิ้นไปแห่งอาสวะนั่นเอง
อกุปปสูตร #ข้อ 95 ผู้มีธรรมไม่กลับกำเริบ คือ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉานในอรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ) ธัมมนิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง) ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และการพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วในแต่ละขั้น ฝึกสังเกตเห็นการเกิด-ดับ เสริมปัญญาให้ถึงธรรมะที่ไม่กลับกำเริบได้
#ข้อ 96-98 ธรรม 5ประการนี้ เมื่อทำอานาปานสติก็จะบรรลุธรรมได้ไม่นานนัก มีไส้ในที่เหมือนกันอยู่ 4 ประการ คือมีธุระน้อย ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง นอนน้อย พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ส่วนที่แตกต่างใน สุตธรสูตร #ข้อ 96 คือ เป็นพหูสูต ฟังธรรมมาก ส่วนใน กถาสูตร #ข้อ 97 คือ กถาวัตถุ 10 ทำให้จิตเปิดโล่ง มาคิดในทางที่จะทำให้เกิดการบรรลุธรรม และ อารัญญกสูตร #ข้อ 98 คือ อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
สีหสูตร #ข้อ 99 การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่เปรียบเทียบไว้ว่าเหมือน “ราชสีห์ บรรลือสีหนาท” คือ เป็นผู้หนักในธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปุถุชน ก็จะแสดงโดยเคารพในธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กกุธวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี [6805-6t]

การสวดปาติโมกข์ หรือเรียกกันว่า “สงฆ์ทำอุโบสถ” เป็นการที่ภิกษุสงฆ์จะนำเอาพระวินัย 227 ข้อมาสวดทบทวนกันในทุกกึ่งเดือน ซึ่งในช่วง 20 พรรษาแรก ๆ หลังจากประกาศพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ด้วยพระองค์เอง และต่อมาในภายหลังมีเหตุให้พระองค์ทรงบัญญัติให้มีภิกขุปาฏิโมกข์
โดยพระสูตรข้อที่ #20_อุโปสถสูตร_ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์ เป็นการแสดงโอวาทปาติโมกข์ครั้งสุดท้ายของพระพุทธเจ้าที่วัดบุพพาราม ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์ แต่พระองฺค์ไม่ทรงแสดงจนเวลาล่วงปัจฉิมยาม เหตุเพราะมีภิกษุผู้ทุศีลเข้าร่วมประชุม ดังนั้นเมื่อท่านพระโมคคัลลานะพอทราบจึงตรวจดูด้วยจิต แล้วจึงบังคับให้พระทุศีลรูปนั้นออกจากที่ประชุมไป หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดงปาฏิโมกข์กันเอง โดยพระองค์ไม่ทรงเข้าร่วมอีกต่อไป และได้ทรงแสดงธรรมถึงสิ่งน่าอัศจรรย์ของมหาสมุทร 8 ประการ ซึ่งมีนัยยะหลักข้อธรรมเดียวกันกับ #ปหาราทสูตร ที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้
พระสูตรข้อที่ 21-23 อยู่ในหมวดคหปติวรรค เป็นเรื่องราวธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี และ หัตถกอุบาสก
โดยในข้อที่ #21_ปฐมอุคคสูตร กล่าวถึง อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี (อุบาสกผู้เลิศในด้านผู้ให้ของเจริญใจ) และในข้อที่ #22_ทุติยอุคคสูตร กล่าวถึง อุคคคหบดี ชาวบ้านหัตถิคาม (อุบาสกผู้เลิศในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุสงฆ์) ซึ่งมีหลักธรรม 8 ประการที่มีความหมายเดียวแตกต่างกันในบทพยัญชนะเล็กน้อย ซึ่งเป็นเรื่องราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์คุณของคฤหบดีทั้ง 2 ท่านในหมู่ภิกษุสงฆ์ เป็นเหตุให้ภิกษุและคฤหบดีได้มีการสอบถามพูดคุยกันถึงคุณธรรมนั้นๆ ได้แก่
1. มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า
2. เมื่อได้ฟังอนุปุพพีกถา และ สามุกกังสิกเทศนาแล้วบรรลุเป็นโสดาบัน
3. ถือพรหมจรรย์
4. จำแนกแจกจ่ายโภคทรัพย์กับผู้มีศีล
5. เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพ
6. ฟังธรรมโดยเคารพ / วางจิตสม่ำเสมอถวายทานแก่สงฆ์ (ไม่เจาะจง)
7. เห็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว
8. ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการได้แล้ว (อนาคามี)
และในข้อที่ #23_ปฐมหัตถกสูตร กล่าวถึงหัตถกอุบาสก โดยพระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์คุณธรรมของอุบาสกผู้นี้ไว้ 7 ประการ (เป็นผู้มีศรัทธา / มีศีล / มีหิริ / มีโอตตัปปะ / เป็นพหูสูต / มีจาคะ /มีปัญญา) เป็นเหตุให้มีการสอบถามถึงคุณธรรมในข้อที่ 8 ที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ต่อมาในภายหลังคือ “ความเป็นผู้มักน้อย” เพราะเหตุที่หัตถกอุบาสกไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้คุณวิเศษที่มีในตนนั่นเอง
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต คหปติวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
เมตตาคือคำตอบ Live [6804-6t]

Live!! ถ่ายทอดสดช่วงสอบถามคำถาม-แบ่งปัน-แชร์ประสบการณ์เรื่องราวธรรมะ ในงานพบปะผู้ฟังประจำปี 2568 “ขุมทรัพย์แห่งใจ” วันที่ 25-27 มกราคม 2568 จากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Q: บทสวด “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” มีความหมายอย่างไร?
A: เป็นบทสวดที่ไม่ใช่พุทธพจน์แต่เป็นบทสวดของสงฆ์สาวกที่ใช้สวดทำความนอบน้อมระลึกถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมีความหมายว่า “ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง” และการกล่าวถึง 3 ครั้งนั้น เป็นการย้ำเพื่อให้เกิดความมั่นใจ
Q: การอยู่คนเดียวหรือการอยู่แบบมีคู่ครองแบบไหนดีกว่ากัน ช่วงบั้นปลายอยู่อย่างไร?
A: จากคติของพระโพธิสัตว์ที่ได้เห็นหญิงสาวที่สวมใส่กำไล 2 อันแล้วมีการกระทบกันของกำไลเกิดขึ้น และนายช่างกำลังดัดลูกศรที่ใช้ตาข้างเดียวมองจะมองได้แม่นยำกว่าตา 2 ข้าง ก็เลยเป็นคติที่ว่า “การอยู่คนเดียวดีกว่า” และการมีกัลยาณมิตรเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ “ธรรมที่เราจำเป็นจะต้องรู้ คือ สติ สมาธิและปัญญา” ที่เมื่อความเจ็บความแก่มาเยือนแล้วเราจะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกได้
Q: สมถะและวิปัสสนาพิจารณาดูอย่างไรจึงจะเกิดขึ้น?
A: สมถะและวิปัสสนาเป็นทางที่จะทำให้จิตเกิดวิชชาและวิมุตติได้ สมถะคือจิตเป็นอารมณ์อันเดียว (จิตนิ่ง) และวิปัสสนาคือการตริตรึกใคร่ครวญเห็นธรรมที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง (โยนิโสมนสิเป็นการคิดตามระบบ) เราจะทำให้จิตตั้งไว้ในสมถะและวิปัสสนาได้นั้น “จิตเราจะต้องนิ่งและเคลื่อน (เห็นธรรมตามจริง) ไปพร้อมกัน” เครื่องมือที่จะทำให้เกิดสมาธิ คือสติและการโยนิโสมนสิการ
Q: การจุดธูปกรวดน้ำจำเป็นจะต้องทำที่วัดได้อย่างเดียวหรือทำที่บ้านได้?
A: การกรวดน้ำเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการรับรองหรือการยืนยัน ซึ่งการกรวดน้ำนั้นจุดประสงค์ก็เพื่ออุทิศส่วนกุศล (ความดี) ประเด็นคือ เราต้องทำความดีก่อนและความดีนั้นก็เกิดขึ้นที่จิต เราใช้จิตทำ (อุทิศ) จะทำที่ใดหรือเวลาใดก็ได้ การกระทำทางวาจาและกายเป็นสิ่งที่ย้ำลงไปเป็นการกระทำที่รองลงมา (ใจ วาจา กาย) จะมีหรือไม่มีก็ได้แต่ที่สำคัญคือ จิตใจต้องน้อมลงไปในการอุทิศบุญนั้น
Q: การขอขมาคนตายในงานศพ คนที่ตายไปแล้วจะรับรู้และยกโทษให้ไหม?
A: ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วอาศัยความดีที่ตนได้กระทำมาเป็นทางไปสู่ภพภูมิที่ดี พิธีงานศพจึงจัดขึ้นเพื่อให้คนเป็นได้สบายใจและได้อุทิศบุญกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การที่เราได้ขอขมากับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้วนั้นทำให้เกิดความสบายใจ เป็นบุญที่เกิดจากจิตที่ไม่คิดผูกเวร ส่วนเขาจะยกโทษให้หรือไม่นั้นเป็นจิต (ปัญหา) ของเขาไม่ใช่ของเรา ที่สำคัญให้จิตของเราเป็นบุญเป็นกุศล
Q: พระธาตุเขี้ยวแก้วที่จัดให้มีการสักการะขึ้น ทำไมถึงไม่มีของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ?
A: ในแต่ละสมัยของพระพุทธเจ้าจะมีแต่พระธาตุที่เป็นของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ เท่านั้น ถ้าการรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้ายังมีอยู่ พระธาตุก็ยังมีปรากฏอยู่ จนกระทั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าหมดไป พระธาตุของพระพุทธเจ้าก็หายสลายตามไปด้วย
Hosted on Acast. See
คุณสมบัติของฑูต [6803-6t]

ผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็นฑูตได้นั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ในข้อที่ #16_ทูเตยยสูตรกล่าวถึงคุณสมบัติของทูตไว้ 8 ประการ คือ
รู้จักฟังสามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้ใฝ่ศึกษา ( ทบทวนเนื้อหานั้นได้ดี )ทรงจำได้ดี เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ( คือรู้ความหมายของสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ )สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ( รู้วิธีการขั้นตอนติดต่อเจรจา )ไม่ก่อความทะเลาะวิวาทพระสูตรที่ว่าด้วย อาการที่เป็นเครื่องผูกใจ มาด้วยกัน 2 พระสูตร โดยพระสูตรที่ 1 อยู่ในข้อที่ #17_ปฐมพันธนสูตรอาการของสตรีที่ย่อมผูกใจบุรุษ และพระสูตรที่ 2 ในข้อที่ #18_ทุติยพันธนสูตร บุรุษย่อมผูกใจสตรีด้วยอาการ 8 ประการซึ่งมีข้อธรรมที่เหมือนกันดังนี้
1. สตรี-บุรุษย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรูป
2. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรอยยิ้ม
3. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยวาจา
4. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยมารยาท ( การแต่งกายตามกาลเทศะ )
5. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยดอกไม้หรือผลไม้ที่หักมาจากป่า
6. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยกลิ่น
7. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยรส
8. ..ย่อมผูกกันไว้ได้ด้วยผัสสะ
ข้อที่ #19_ปหาราทสูตร เป็นเรื่องราวของท้าวปหาราทะจอมอสูรไปเขาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อสอบถามธรรม แต่ด้วยความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิอาจถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อุปนิสัยจึงได้ตรัสถามปัญหาก่อน แล้วท้าวปหาราทะจอมอสูรจึงได้ทูลถามคำถามกลับที่หลัง เป็นลักษณะการอุปมาอุปไมยระหว่างสิ่งที่เป็นที่น่าอัศจรรย์ยินดีของเหล่าอสูรในมหาสมุทร อุปไมยกับธรรมที่น่าอัศจรรย์ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดี โดยมีลักษณะอุปมาอุปไมยดังนี้
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ม้าอาชาไนย ม้าแกลบ [6802-6t]

เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ เด็กในวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า ความเป็นพหูสูตจึงสำคัญต่อเด็กอย่างมาก หรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่เองก็ควรที่จะให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ
ตอบคำถามของท่านผู้ฟังจากตอน “สมณะแกลบ” ที่ออกอากาศไป โดยกล่าวถึงการนับข้อธรรมใน “การัณฑวสูตร” ให้ได้ครบ 8 ข้อนั้น ให้ลองสังเกตจากการอ่านทบทวนหรือศึกษาเพิ่มเติมอาจจะเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เห็น และอีกหนึ่งคำถามที่ถามว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราโดนลาภสักการะเล่นงานเข้าแล้ว” ให้เราหมั่นเตือนตนด้วยตนและการมีกัลยาณมิตรที่ดีจะคอยช่วยเตือนกันและกัน
เรื่องราวใน 2 พระสูตรแรก เป็นการนำเอาม้าอาชาไนยและม้าแกลบมาเปรียบเทียบกับบุคคลผู้เป็นอาชาไนยหรือบุคคลกระจอก โดยใน ข้อที่#13_อัสสาชานิยสูตรว่าด้วยม้าอาชาไนย มีใจความอุปมาอุปไมยดังนี้
1. เป็นสัตว์มีกำเนิดดีทั้งฝ่ายแม่ม้าและพ่อม้า อุปไมยกับ => บุคคลผู้มีศีลดี
2. กินหญ้าที่เขาให้อย่างเรียบร้อยไม่เรี่ยราด => ฉันโภชนะที่เขาถวายโดยเคารพไม่รังเกียจ
3. รังเกียจที่จะนอนทับอุจจาระหรือปัสสาวะ => รังเกียจกาย วาจา ใจทุจริต ตลอดถึงรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่าง ๆ
4. เป็นสัตว์สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข => เป็นผู้สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมกันเป็นสุข
5. เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงแก่นายสารถี => เปิดเผยความไม่ดีของตนแก่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีตามความเป็นจริง
6. นายสารถีปราบความโอ้อวด ความพยศของมันได้ => พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีพยายามช่วยกันกำจัดความโอ้อวดความคดโกงเหล่านั้นของเธอได้
7. เป็นสัตว์ลากภาระไปได้ => เป็นผู้ศึกษา คือ ใฝ่ใจจะศึกษา
8. เป็นสัตว์มีกำลัง => เป็นผู้ปรารภความเพียร (ด้วยองค์ 4 คือ หนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือด)
ข้อที่ #14_อัสสขฬุงกสูตร ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก มีใจความอุปมาอุปไมยดังนี้
1. ถูกนายสารถีสั่งว่า ‘เดินไป’ แต่กลับถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง => อำพรางอาบัติไว้ เพราะระลึกไม่ได้
2. ..แต่กลับหกหลัง ดัดทูบให้หัก => ถูกโจทก์ด้วยอาบัติแต่โต้ตอบภิกษุผู้เป็นโจทก์ว่าไม่มีคุณสมบัติที่จะมากล่าวโจทก์
3. ..ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ => โจทก์กลับด้วยอาบัติเดียวกัน
4. ..เดินผิดทาง ทำให้รถไปผิดทาง => พูดกลบเกลื่อน พูดนอกเรื่อง แสดงอาการโกรธ ขัดเคือง
5. ..เชิดกายส่วนหน้า เผ่นขึ้นไป => แสดงอาการไม่เคารพในหมู่สงฆ์
6. ..ไม่คำนึงถึงประตัก กัดบังเหียน หลีกไปตามความประสงค์ =>ไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ทั้งที่มีอาบัติติดตัวอยู่กลับหลีกหนีไป
7. ..ไม่ก้าวไป ไม่ถอยหลัง ยืนทื่ออยู่เหมือนเสาเขื่อน => กล่าวว่าตนไม่อาบัติแล้วใช้ความนิ่งทำให้สงฆ์ลำบาก
8. ..ลงหมอบทับเท้าทั้ง 4 อยู่ที่ตรงนั้น => ไม่ยอมรับการกล่าวโจทก์แล้วบอกคืนสิกขา
ข้อที่ #15_มลสูตร ว่าด้วยมลทิน (ความมัวหมอง)
“มนตร์ มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน
เรือน มีความไม่ขยันหมั่นเพียรเป็นมลทิน
ผิวพรรณ มีความเกียจคร้านเป็นมลทิน
ผู้รักษา มีความประมาทเป็นมลทิน
สตรี มีความประพฤติชั่วเป็นมลทิน
ผู้ให้ มีความตระหนี่เป็นมลทิน
บาปธรรม เป็นมลทินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้นคือ..อวิชชา”
พระไตร
พระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์ [6801-6t]

เรื่องราวทั้ง 2 พระสูตรนี้ เป็นรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงได้กล่าวแก้ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหาจากพวกอัญเดียรถีย์ โดยได้ทรงแสดงไว้ กับเวรัญชพราหมณ์ใน เวรัญชสูตร และสีหเสนาบดีใน สีหสูตร ซึ่งมีเนื้อหาถึง 8 ประการด้วยกัน
โดยในข้อที่ #11_เวรัญชสูตร เวรัญชพราหมณ์ได้เข้ามากราบทูลถามถึงข้อสงสัยในแต่ละประเด็นและพระองค์ก็ได้ทรงตรัสแก้ข้อสงสัยเหล่านั้นแก่เวรัญชพราหมณ์ โดยมีประเด็นที่กล่าวถึงดังนี้
1. พระพุทธเจ้าเป็นคนไม่มีรส (สัมมาคารวะ) ทรงตรัสแก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”
2. ไม่มีสมบัติ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”
3. สอนไม่ให้ทำ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกาย-วาจา-ใจทุจริต และไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่างๆ”
4. สอนให้ทำลาย ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”
5. ช่างรังเกียจ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกาย-วาจา-ใจทุจริต และรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่างๆ”
6. ช่างกำจัด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”
7. ช่างเผาผลาญ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กาย-วาจา-ใจทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ”
8. เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์ และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นว่า เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด”
ข้อที่ #12_สีหสูตร สีหเสนาบดีได้ยินคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากพวกเจ้าลิจฉวีจึงปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนเป็นสาวกของพวกนิครนถ์ จึงถูกนิครนถ์ นาฏบุตรห้ามไว้ถึง 2 ครั้ง และในครั้งที่ 3 ก็ไปเข้าเฝ้าได้สำเร็จ จึงได้สอบถามถึงข้อสงสัยที่ว่า “ พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ มีข้อเท็จจริงอย่างไร ? ”แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงธรรมตรัสแก้ข้อกล่าวหาที่มีนัยยะใกล้เคียงกับเวรัญชสูตรแต่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ แล้วหลังจากที่สีหเสนาบดีได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแต่ด้วยตนเป็นบุคคลมีชื่อเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้สีหเสนาบดีคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน แต่ด้วยความปลื้มปิติที่มีจึงได้ประกาศตนถึง 3 ครั้งด้วยกัน และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกเทศนา(อริยสัจ 4)แก่สีหเสนาบดีจนได้บรรลุเป็นโสดาบัน
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ส่งท้ายปี 67- นำธรรมมาทบทวน [6752-6t]

ทบทวนหมวดธรรม 7 ประการ (สัตตกนิบาต) ในปี 2567
#15_อุทกูปมาสูตร อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบคนตกน้ำกับบุคคล 7 จำพวก โดยไล่ตามลำดับตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงอริยบุคคลประเภทต่างๆ
#16_อนิจจานุปัสสีสูตร กล่าวถึงอนาคามี 7 ประเภท
#วัชชิสัตตกวรรค เป็นเรื่องราวของชาวเมืองวัชชี (พวกเจ้าลิจฉวี) ในกรุงเวสาลี และพระเจ้าอชาตศัตรูกับวัสสการพราหมณ์ในแคว้นมคธ โดยได้กล่าวถึงหลักธรรมที่ชาวเมืองวัชชีถือปฏิบัติกันมาได้แก่ อปริหานิยธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว โดยได้แสดงไว้หลายนัยยะด้วยกัน
#30_วิปัตติสูตร_#31_ปราภวสูตร ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก ความวิบัติหรือสมบัตินี้หมายถึงความเสื่อมหรือความเจริญของคุณธรรมนั่นเอง
#36_#37_ปฐม_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร-เพื่อนที่ควรเสพคบหามี 7 ประการ
#40_#41_ปฐม_ทุติยวสสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้มีอำนาจเหนือจิต ไม่ให้จิตไปตามอำนาจของผัสสะที่มากระทบ การฝึกจิตให้มีกำลังด้วยการทำสมาธิให้มีความชำนาญในขั้นต่างๆ
#44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ว่าด้วยวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ) และ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ (มรรค 7 ประการแรก) เมื่อสมาธิมีกำลังจะสามารถแยกจิตออกจากรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณได้
#46_#47_ปฐม_ทุติยอัคคิสูตร ไฟ และ การบูชายัญ
#48_#49_ปฐม_ทุติยสัญญาสูตร สัญญา 7 ประการที่ทำให้จิตหลุดพ้นได้
#50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค ปรารภเพศตรงข้าม / #52_ทานมหัปผลสูตร ทานที่ให้ผลมาก
#53_นันทมาตาสูตร / #57_สีหเสนาปติสูตร / #61_ปลายมานสูตร ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง
#63_ภริยาสูตร ภรรยา 7 จำพวก / #64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ / #66_ สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง / #67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร / #71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา / #72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สมณะแกลบ [6751-6t]

#9_นันทสูตร_ว่าด้วยพระนันทะ พระนันทเถระ มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ท่านบวชเพราะความจำใจ จึงไม่ได้มีความตั้งใจในการที่ปฏิบัติธรรมและมีความกระสันใคร่อยากจะลาสิกขาอยู่เสมอ แต่ด้วยอุบายของพระพุทธเจ้าและความละอายต่อคำว่า “บวชเพราะรับจ้าง” ท่านจึงได้สติแล้วตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์และได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้าน “ผู้ทรงอินทรีย์สังวร”
ในนันทสูตรนี้ได้ยกถึงสมญานามของท่านนันทะไว้ 4 อย่าง ได้แก่ กุลบุตร (ชาติตระกูลดี), ผู้มีกำลัง, ผู้น่ารัก (รูปงาม), ผู้มีราคะจัด และได้ยกถึงหลักธรรม 4 ประการที่เมื่อพระนันทะปฏิบัติแล้วจะเข้าถึงบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งพรหมจรรย์ได้ หลักธรรม 4 ประการได้แก่ การสำรวมอินทรีย์ (ในบริบทนี้ให้ดูทิศ), การรู้ประมาณในการบริโภค, ประกอบความเพียรเครื่องตื่น (ดับนิวรณ์), มีสติสัมปชัญญะ (เห็นการเกิด-ดับในเวทนา สัญญา และสังขาร)
“เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่ยังมิได้อบรมให้ดี ก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงได้ ส่วนเรือนที่มุงดี ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้วก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงไม่ได้”
#10_การัณฑวสูตร_ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ การกล่าวถึงวิธีการที่จะปฏิบัติกับภิกษุผู้ปกปิดอาบัติของตน (วิธีการที่พระใช้ลงโทษพระ) โดยได้อุปมาอุปไมยเปรียบด้วย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว, การฝัดข้าวเปลือกเม็ดลีบ, ต้นไม้ที่เป็นโพลงเสียโดยให้กำจัดออกเสีย เปรียบเทียบกับภิกษุเมื่อทำผิดก็ต้องรับผิดไปตามบทวินัยเพื่อรักษาหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและความเจริญงดงามแห่งพระศาสนา
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
อยู่เหนือโลกธรรมแปด [6750-6t]

โลกธรรม 8 เป็นสิ่งที่มีปรากฎอยู่บนโลกและอยู่คู่กับโลกเป็นธรรมดา มีลักษณะครอบงำสัตว์โลกให้ยินดีหรือยินร้ายไปตามกระแสของโลก ประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ 1) ลาภ 2) เสื่อมลาภ 3) ยศ 4) เสื่อมยศ 5) นินทา 6) สรรเสริญ 7) สุข 8) ทุกข์ โดยใน
#5_ปฐมโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 1 ในคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึง โลกธรรม 8 เป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่ในมนุษย์ ล้วนมีความไม่เที่ยง ผู้ใดมีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมไม่ยึดถือหรือยินดียินร้ายไปตาม จิตจึงไม่ถูกโลกธรรมย่ำยี่หรือครอบงำ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน
#6_ทุติยโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 2 มีความหมายเดียวกันกับพระสูตรที่ 1 แต่ได้ยกอธิบายความแตกต่างระหว่างปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับและอริยสาวกผู้ได้สดับซึ่งจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับจะรู้ชัดตามความเป็นจริงจิตจึงไม่ถูกครอบงำด้วยโลกธรรม 8
#7_เทวทัตตวิปัตติสูตร_ว่าด้วยวิบัติของพระเทวทัต ได้ปรารภเทวทัตถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต จึงต้องไปเกิดในอบาย นรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เพราะทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นอนันตริยกรรม อสัทธรรม 8 ประการได้แก่ ถูกลาภ-ความเสื่อมลาภ ยศ-ความเสื่อมยศ การสักการะ-เสื่อมสักการะ ปรารถนาชั่วและมีมิตรชั่วครอบงำจิต
#8_อุตตรวิปัตติสูตร_ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ ข้อธรรมเหมือนกับเทวทัตตวิปัตติสูตร แต่เป็นเรื่องราวของท่านพระอุตตระได้แสดงธรรมถึงความวิบัติและสมบัติโดยได้ยกเคสของพระเทวทัตที่วิบัติเพราะถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต
*ประเด็น ความวิบัติหรือสมบัติไม่ได้ดูจาก สุข หรือ ทุกข์ แต่ดูได้จากเมื่ออยู่กับโลกธรรมแล้วเห็นตามความเป็นจริงได้หรือไม่ คือ เห็นสุขหรือทุกข์เป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในโลกธรรมนั้น จิตจะพ้นจะอยู่เหนือโลกธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
เหตุให้เป็นที่รัก [6749-6t]

#1_เมตตาสูตร_ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้วซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ (หมายถึง เมตตาที่เกิดจากจิตที่มีอารมณ์เป็นสมาธิของฌาน 3-4 และมีความพ้นจากนิวรณ์ 5 ประการ) และทำให้เป็นดุจยานแล้ว (ชำนาญ) ย่อมได้อานิสงส์ 8 ประการ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้ายเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ เทวดารักษา ไฟ ยาพิษ หรือศัสตราไม่กล้ำกราย เมื่อยังไม่ถึงอรหัตตผลย่อมเข้าถึงพรหมโลก
#2_ปัญญาสูตร_ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา เหตุ 8 ประการที่จะทำให้ได้ปัญญาถึงความเจริญแห่งปัญญา (คำว่า ปัญญา ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนา) คือ บุคคลเมื่ออาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีแล้วตั้งผู้นั้นไว้ในฐานะครู มีความรักและเคารพอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ และได้มีโอกาสเข้าไปเพื่อสอบถามธรรมกับท่านเหล่านั้น เมื่อได้ฟังธรรมแล้วย่อมทำให้เกิดความสงบกายและใจ ถึงความเป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ไม่พูดติรัจฉานกถา (คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน) และเห็นความเกิดขึ้นและดับไปในอุปาทานขันธ์ 5
#3-4_ปฐม-ทุติยอัปปิยสูตร_ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ทั้ง 2 พระสูตรนี้ ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ที่รัก เคารพ ยกย่อง ในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีข้อธรรมที่สรุปลงเหมือนกันได้ 14 ข้อ คือ ไม่สรรเสริญและไม่ติเตียนผู้เป็นที่รัก ไม่มุ่งหวังลาภสักการะ มีหิริโอตตัปปะ มีความมักน้อย เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่มุ่งชื่อเสียง รู้จักกาล รู้จักประมาณ เป็นคนสะอาด ไม่พูดมาก ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี และธรรมที่ทำให้ไม่เป็นที่รัก ฯ มีนัยยะตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
กิเลสในลาภสักการะ [6748-6t]

รูปสูตร คนเราจะเลือกเลื่อมใสใครมาจากเหตุ 4 อย่างนี้ คือ รูป เสียง ความเศร้าหมอง และธรรมะ แต่ไม่ควรจะตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นภายนอกเพียงอย่างเดียว ดูให้รู้ถึงคุณธรรมภายในด้วย
สารคสูตร บุคคลที่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ นับว่าไม่ดี เมื่อเป็นอริยบุคคลแม้ขั้นโสดาบันสิ่งเหล่านี้ก็จะเบาบางลง
อหิราชสูตร เกี่ยวกับการแผ่เมตตาให้ 4 ตระกูลของพญางูเพื่อความอยู่เป็นสุข
เทวทัตตสูตร ชี้ให้เห็นถึงลาภสักการะที่เกิดขึ้นนั้นฆ่าตัวพระเทวทัตเอง มาจากกิเลสในใจ ดุจการเกิดขึ้นของขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ลูกม้าอาชาไนยฆ่าแม่ม้าอัสดร และดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ควรรักษาตนไม่ให้มีรอยแผลที่จะถูกตำหนิได้ และการเสพสุขโดยธรรมสามารถทำได้
ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียร 4 ประการ คือ สำรวม ละ เจริญ และรักษา
อธัมมิกสูตร ธรรม 4 ข้อที่จะเกิดจากเหตุ 13 ประการของผู้ที่ตั้ง และไม่ตั้งอยู่ในธรรม
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บุรุษอาชาไนย [6747-6t]

#107_มูสิกสูตร เปรียบบุคคลไว้กับหนู 4 จำพวก โดยเปรียบการ “ขุดรู” ของหนู คือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ และ เปรียบการ “อยู่” ของหนู คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ซึ่งบุคคลศึกษาดีแต่ไม่รู้(แจ้ง)ในอริยสัจก็มี และบางประเภทศึกษาน้อยแต่แจ้งในอริยสัจ แล้วมีทั้งที่ศึกษาแล้วทำให้แจ้งอริยสัจด้วยก็มี
#108_พลิวัททสูตร เปรียบบุคคลไว้กับโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง
#109_รุกขสูตร เปรียบบุคคลไว้กับต้นไม้เนื้ออ่อนและต้นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งไม้เนื้อแข็งเป็นไม้มีแก่นเปรียบไว้กับคนมีศีล และไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ไม่มีแก่นเปรียบกับคนไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด
#110_อาสีวิสสูตร เปรียบบุคคลเหมือนอสรพิษ เอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า
#111_เกสิสูตร เปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้า มีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พระเทวฑัตและพระฉันนะ ให้มีเมตตากรุณาอย่าอุเบกขาอย่างเดียว
#112_ชวสูตร คุณสมบัติของม้ากับของภิกษุที่คู่ควร ซื่อตรง คือ ศรัทธา ว่องไว คือ รู้อริยสัจชั้นโสดาบัน อดทนต่อทุกขเวทนา สงบเสงี่ยม คือ มีฌาน 4
#113_ปโตทสูตร ม้าดีแต่มีความต่างกันต่อปฏักอยู่ 4 ระดับ คือ เห็นเงา แทงขน แทงผิว แทงกระดูก เปรียบดั่งการได้ยินได้รู้การตายของบุคคลในระดับต่าง ๆ จนถึงการตายของตนเอง
#114_นาคสูตร คุณสมบัติช้างที่ดีในหนึ่งตัวมีครบสี่ กับบุคคลที่ถ้ามีครบก็เป็นอริยบุคคล รู้ฟัง: ใครกล่าวธรรมเงี่ยโสตฟัง รู้ประหาร: รู้จักละอกุศล รู้อดทน: อดทนต่อทุกขเวทนา รู้ไป: ไปนิพพาน ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลอันยาวนาน
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สัตตกนิบาต - หมวดธรรม 7 ประการ (จบบริบูรณ์) [6746-6t]

สมณวรรค หมวดว่าด้วยสมณะ ในวรรคนี้ ข้อที่ 85-92 (1-8) กล่าวถึง เหตุให้ได้ชื่อว่า “ภิกษุ” เพราะทำลายธรรม 7 ประการนี้ได้, ได้ชื่อว่า “สมณะ” เพราะระงับธรรม..ฯ, ..“พราหมณ์” เพราะลอยธรรม..ฯ, ..“โสตติกกะ” เพราะธรรม 7 ประการนี้ร้อยรัดไม่ได้, ..“นหาตกะ” เพราะล้างธรรม 7 ประการนี้ได้, ..“เวทคู” เพราะรู้ธรรม..ฯ, ..“อริยะ” เพราะกำจัดธรรม..ฯ, ..“อรหันต์” เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม 7 ประการนี้ คือ อะไรบ้าง
*ใน 8 หัวข้อพระสูตรนี้ คือ ความเป็น “พระอรหันต์” นั่นเอง
ข้อที่ 93 ว่าด้วยอสัทธรรม (เป็นผู้ไม่มีธรรม) และ ข้อที่ 94 ว่าด้วยสัทธรรม (เป็นผู้มีธรรม) ได้แก่ ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, พหูสูต, ปรารภความเพียร, มีสติ. มีปัญญา
อาหุเนยยวรรค หมวดว่าด้วยอาหุไนยบุคคล ในวรรคนี้ ข้อที่ 95-622 กล่าวถึง บุคคล 7 จำพวกที่เป็นอรหันต์และอนาคามีประเภทต่างๆ เป็นผู้พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง.. เป็นทุกข์.. เป็นอนัตตา.. ความสิ้นไป.. ความเสื่อมไป.. ความคลายไป.. ความดับไป.. ความสละคืนในอายตนะภายในและภายนอก ในขันธ์ ฯลฯ
ราคเปยยาล หมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น ข้อที่ 623-1132 บุคคลควรเจริญธรรม 7 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง ..เพื่อกำหนดรู้ ..เพื่อความสิ้น ..เพื่อละ ..เพื่อความสิ้นไป ..เพื่อความเสื่อมไป ..เพื่อความคลายไป ..เพื่อความดับไป ..เพื่อความสละ ..เพื่อความสละคืนราคะ ..โกธะ (ความโกรธ) ..อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ..มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ..ปลาสะ (ความตีเสมอ) ..อิสสา (ความริษยา) ..มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ..มายา (มารยา) ..สาเถยยะ (ความ โอ้อวด) ..ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ..สารัมภะ (ความแข่งดี) ..มานะ (ความถือตัว) ..อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ..มทะ (ความมัวเมา) ..ปมาทะ (ความประมาท).
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
พระวินัยธร [6745-6t]

“พระวินัยธร” คือ ภิกษุผู้ชำนาญในพระวินัยในสิกขาบทต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี หรือปัจจุบันเรียกว่า “ตำรวจพระ” ซึ่งตำรวจจำเป็นต้องจะรู้และชำนาญในข้อกฏหมายและตนเองก็ต้องรักษาปฏิบัติตามได้อย่างดีด้วย
ในข้อที่ 75-78 กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวินัยธร และในข้อที่ 79-82 ผู้ที่เป็นพระวินัยธรที่สง่างามนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งในแต่ละพระสูตรจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนกันและแตกต่างกันเป็นบางข้อ
ข้อที่ #83_สัตถุสาสนสูตร ท่านพระอุบาลีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อปฏิบัติ (คำสอนของพระศาสดา) เมื่อต้องหลีกเร้นอยู่เพียงผู้เดียว
ข้อที่ #84_อธิกรณสมถสูตร กล่าวถึง ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ คือวิธีที่จะระงับหรือดับอธิกรณ์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วินยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
สังเวชนียสถาน [6744-6t]

#115_ฐานสูตร_ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ จับคู่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือน่าพอใจ กับทำแล้วเป็นประโยชน์หรือฉิบหาย บัณฑิตจะทราบว่า 2 ส่วนควรทำหรือไม่ควรทำ ดูที่ประโยชน์หรือโทษเป็นเกณท์ ในขณะที่คนพาลจะมองได้ไม่ขาดทะลุ ตรงนี้อยู่ที่กำลังจิต เปรียบได้เหมือนการเลือกดื่มน้ำมูตร หรือน้ำหวานพิษ หรือประโยชน์ที่จะได้รับในเวลาต่อมา
#116_อัปปมาทสูตร_ว่าด้วยความไม่ประมาท เมื่อรู้ 4 ข้อนี้จะไม่เกรงกลัวต่อความตายที่จะมาถึง คือ ละกายวาจาใจทิฏฐิในทางทุจริต และเจริญกายวาจาใจทิฏฐิในทางสุจริต ไม่กลัวเพราะมีการตั้งตนไว้ในความไม่ประมาทในธรรม 4 ข้อนี้นั่นเอง
#117_อารักขสูตร_ว่าด้วยสติเครื่องรักษา เมื่อมีธรรมนี้แล้วจะไม่เป็นผู้หวั่นไหวสะดุ้งสะเทือนไปตามมงคลตื่นข่าว กล่าวคือ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุนั้น ๆ เป็นการเบรคจิตด้วยสติได้อย่างน้อยเป็นโสดาบัน
#118_สังเวชนียสูตร_ว่าด้วยสังเวชนียสถาน คนที่มีศรัทธาเมื่อได้ไปสี่สถานที่นี้แล้วควรเกิดความสังเวช สังเวชในการที่จะต้องรีบกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างเร่งด่วนให้เกดความเปลี่ยนแปลง โดยเร่งทำความเพียรตามมรรคแปด
#119_ปฐมภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายใน เป็นภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ได้แก่ ภัยเกิดเพราะความเกิด, ความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย
#120_ทุติยภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายนอก เป็นภัยที่อาจยังช่วยกันได้ ได้แก่ ภัยเกิดจากไฟ, จากน้ำ, จากพระราชา, จากโจรจบเกสิวรรค
#121_อัตตานุวาทสูตร_ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย ภัย 4 ประการที่ถ้าเรามีหิริโอตัปปะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวภัยเหล่านี้เลย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เกสิวรรค ภยวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
การด่าบริภาษครูทั้ง 7 [6743-6t]

ทบทวน ข้อที่ #72_อัคคิกขันโธปมสูตร_ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ ข้อที่น่าสังเกตในพระสูตรนี้ คือ เรื่องของเวทนา ว่า “เวทนาสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่กำลังจะไป แต่เป็นเวทนาที่ประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่จะไป”
#73_สุเนตตสูตร_ว่าด้วยครูชื่อสุเนตตะ เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของ “ผู้ที่ถูกโทสะเบียดเบียนจิต มีจิตประทุษร้าย ด่าว่า ติเตียนในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสิ่งมิใช่บุญมีโทษมาก” โดยได้หยิบยกครูเจ้าลัทธิทั้ง 7 ท่านที่ปราศจากความกำหนัดในกามและมีคำสอนเป็นไปเพื่อพรหมโลก ผู้ที่ไม่มีศรัทธาและไปด่าบริภาษในท่านยังประสพสิ่งที่มิใช่บุญ แลัวจะกล่าวไปไยในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะประสพสิ่งอันมิใช่บุญเป็นอันมาก
#74_ อรกสูตร_ว่าด้วยครูชื่ออรกะ เป็นพระสูตรว่าด้วยการปรารภความเพียร ไม่ควรประมาทในวัยแห่งชีวิต “เพราะชีวิตเป็นของมีประมาณน้อย”
โดย “ครูอรกะ” ได้ยกอุปมาความที่ชีวิตเป็นของมีประมาณน้อยเปรียบไว้กับ น้ำค้างบนยอดหญ้า, ฟองน้ำบนผิวน้ำ, รอยขีดในน้ำ, น้ำที่มีกระแสเชี่ยวไหลมาจากภูเขา, การถ่มน้ำลายทิ้ง, ชิ้นเนื้อในเตาเผา และแม่โคที่จะถูกฆ่า
“ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ”
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
บ่วงรวบรัดแห่งมาร [6742-6t]

#55_มาตาปุตตสูตร ว่าด้วยมารดากับบุตร พูดถึงความสัมพันธ์ต่อกันของเพศตรงข้าม ที่มาตามรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นที่เกิดความกำหนัด อันเป็นอันตรายต่อนิพพาน โดยยกกรณีของมารดากับบุตร ที่แม้บวชแล้วก็ยังคลุกคลีกันจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ต้องระวังให้ดี ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จนแม้กระทั่งตายไปแล้วก็เช่นกัน การอยู่กับเพศตรงข้ามแล้วมีจิตลุ่มหลงจะรอดยากกว่าเจออสรพิษ
#56_อุปัชฌายสูตร ว่าด้วยอุปัชฌาย์ ปรารภภิกษุผู้ที่มีเหตุจะให้สึก การที่มีกายหนัก ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะครอบงำ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรม เหตุเพราะว่า
1) ไม่คุ้มครองในอินทรีย์ แก้โดยมีสติเป็นนายทวาร
2) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค, รู้ประมาณ คือ การพิจารณาจากเวทนาทั้งที่เป็นสุขและที่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อระงับเวทนา และไม่เป็นไปเพื่อเวทนาใหม่ที่มากเกินไป ตั้งจิตคอยสังเกตเวทนาที่เกิดขึ้นเหมือนการกินเนื้อบุตร ปรับความคิดเห็นว่าการมีกายที่เบานั้นเหมาะแก่การเจริญภาวนา
3) ไม่ประกอบธรรมอันเป็นเครื่องตื่น, เครื่องตื่น คือ ตื่นตัวอยู่เสมอในความเพียร ไม่ใช่ไม่นอน
4) ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย แก้โดยให้จับฉวยให้ไวในศีล สมาธิ ปัญญา
5) การไม่ประกอบเจริญในโพธิปักขิยธรรม ถ้าไม่เจริญธรรมนั้นก็จะมีแต่เสื่อมท่าเดียว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่บีบบังคับได้ดี เป็นธรรมที่คุ้มครองให้ผ่านอุปสรรคไปได้
#57_ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ "ความเป็นธรรมดา" นั้น คือ การพิจารณาว่ามันเกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย ความธรรมดาที่ล่วงพ้นไปไม่ได้ ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ ที่เมื่อพิจารณาแล้วจะทำให้ละหรือลดความมัวเมาได้ ได้แก่ ความแก่ลดความมัวเมาในวัย ความเจ็บไข้ลดความมัวเมาในความไม่มีโรค ความตายลดความมัวเมาในชีวิต ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจละความกำหนัดได้ และทุกคนมีกรรมเป็นของตน ความเข้าใจนี้จะทำให้ไม่ไปตามมงคลอื่น ๆ เมื่อเข้าใจทั้ง 5 ประการนี้แล้ว จะทำให้อยู่ในมรรค ก้าวหน้าในธรรม จนเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค ข้อที่ 55-57
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
ข้ออุปมาด้วยกองไฟ [6741-6t]

#70_สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดใคร่ครวญถึงธรรม 7 ประการ ที่เมื่อ “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรมเหล่านี้อยู่ จะละอกุศล เจริญกุศลได้” ธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้แก่ เมื่อภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดา / พระธรรม / พระสงฆ์ / สิกขา / สมาธิ / ความไม่ประมาท / ปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้
โดยธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้ถูกจำแนกรายละเอียดเป็นไปตามลำดับและมีนัยยะในการจำแนกใคร่ครวญถึง 3 นัยยะด้วยกัน คือ เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อไม่มีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะไม่มีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ.. แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงรับรองคำของท่านพระสารีบุตร
#71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 อยู่ แม้จะไม่ตั้งความปรารถนาถึงความสิ้นอาสวะ ก็จะถึงความสิ้นอาสวะอยู่ดี เพราะด้วยอาศัยเหตุแห่งการหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 นี้ โดยได้อุปมากับการกกไข่ของแม่ไก่ รอยจับในด้ามมีด ความผุกร่อนของหวายที่ผูกรั้งเรือ ที่ย่อมอาศัยเวลาและการกระทำอย่างต่อเนื่อง
#72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ได้ทรงกล่าวถึงภิกษุผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่สะอาด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ แล้วใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใดก็ตาม การใช้สอยของภิกษุผู้ทุศีลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลแก่ภิกษุผู้ทุศีลนั้น โดยได้ทรงยกอุปมาอุปไมยไว้ถึง 7 ประการ หลังจากที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจบ ก็มีภิกษุบางพวกกระอักเลือด บางพวกลาสิกขา บางพวกบรรลุธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.